Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39599
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผศ.ดร.ชูเกียรติ ชัยบุญศรี | - |
dc.contributor.advisor | รศ.ดร.ประเสริฐ ไชยทิพย์ | - |
dc.contributor.author | ภุชงค์ นภสินธุ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-09-28T09:18:40Z | - |
dc.date.available | 2016-09-28T09:18:40Z | - |
dc.date.issued | 2015-07 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39599 | - |
dc.description.abstract | This study aims to analyze and predict the index fluctuation of Thailand and ASEAN countries (Indonesia, Philippine, Singapore, and Malaysia), China and Hong Kong due to time managed by Thai political party. This study aims to find the relation of each variable in each state by applying the Markov-Switching Vector Autoregressive Model (MS-VAR) and the MS-VAR intercept regime dependent Model: MSI-VAR for analyzing the data. The data include Thailand (SET Index), Indonesia (JKSE Index), Philippine (PHCOMP Index), Singapore (STI Index), Malaysia (KLSE Index), China (SHI Index), and Hong Kong (HSKI Index) which are daily time-series data on February 17, 2001 – March 31, 2015 (3,681 observations ). The test applying Augmented Dickey-Fuller Test (ADF-test) of Unit root test to analyze 7 variables reveals that the observation of all data are stationary with the level of statistical significance of 0.01 % (99.0%). There are several kinds of results from the test, including intercept and trend test, intercept test and none test (none intercept and none trend). These results can later be used to find the relation of each variable on the model. Results from the MS-VAR intercept regime dependent Model (MSI-VAR) are divided into two groups. The first group is the comparison of the data for ASEAN Index; the researcher found that the consequences include two states: high (regime 1, the period that the index rises) and low (regime 2, the period that the index falls). Consequently, for high (regime 1), the index tends to rise and may go on for 12.56 days while for low (regime 2), the index tends to fall and may go on for 3.12 days. The second group is the comparison of ASEAN, China, and Hong Kong Index; the results also revealed two states: high (regime 1) where the index tends to rise and may go on for 10.73 days, and low (regime 2) where the index tends to fall and may go on for 3.12 days. From the analysis and predication of yield index fluctuation among ASEAN, China, and Hong Kong Index, the model can analyze the trend of rising index effectively but cannot analyze falling index precisely. Therefore, the investors should analyze and predict the yield index fluctuation among ASEAN, China, and Hong Kong Index with governing period of each Thai party. Plus, the investors should also analyze the cycle of index. These will help the investors to evaluate the situations that happen in each period for the decision in future investment effectively. . | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน, สาธารณรัฐประชาชนจีนและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | en_US |
dc.title.alternative | An Analysis of Relationship for ASEAN Index, China and Hong Kong | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และพยากรณ์ความผันผวนของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มประเทศอาเซียน(ไทย,อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์และมาเลเซีย) , ประเทศจีนและฮ่องกง โดยแบ่งตามช่วงเวลาของการบริหารงานของพรรคการเมืองไทย และวิเคราะห์ช่วงเวลาของวัฎจักรทางเศรษฐกิจ เพื่อหาความสัมพันธ์ของแต่ละตัวแปรในแต่ละสถานะ ใช้การวิเคราะห์ด้วยวิธี Markov-Switching Vector Autoregressive (MS-VAR) แบบอินเทอเซ็ป (The MS-VAR intercept regime dependent Model: MSI-VAR) โดยใช้ข้อมูลของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย (SET Index), ประเทศอินโดนีเซีย (JKSE Index), ประเทศฟิลิปปินส์ (PHCOMP Index), ประเทศสิงคโปร์ (STI Index), ประเทศมาเลเซีย (KLSE Index), ประเทศจีน (SHI Index) และฮ่องกง (HSKI Index) ซึ่งเป็นข้อมูลอนุกรมเวลาแบบทุติยภูมิ รายวัน ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 ถึง 31 มีนาคม 2558 จำนวน 3,681 ค่าสังเกต ผลการศึกษาพบว่า จากการทดสอบยูนิทรูท (Unit root test) ด้วยวิธี Augmented Dickey-Fuller Test (ADF-test) ของค่าสังเกตของข้อมูล 7 ตัวแปร พบว่าค่าสังเกตทุกตัวมีลักษณะของข้อมูลนิ่ง (stationary) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 (ความเชื่อมั่น 99%) ของการทดสอบแบบมีค่าคงที่และมีแนวโน้มเวลา (intercept and trend), แบบมีค่าคงที่ (intercept) และแบบไม่มีทั้งค่าคงที่และมีแนวโน้มเวลา (none) ซึ่งสามารถนำไปหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามแบบจำลองต่อไปได้ ส่วนผลการศึกษาจากแบบจำลอง The MS-VAR intercept regime dependent Model: MSI-VAR แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มข้อมูล พบว่า กลุ่มที่ 1 เปรียบเทียบข้อมูลในกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่า มีสถานะ high (regime 1) คือ ช่วงเวลาที่ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นและยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมีระยะเวลา 12.56 วัน และมีสถานะ low (regime 2) คือ ช่วงเวลาที่ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์มีแนวโน้มปรับตัวลงและยังคงมีแนวโน้มปรับตัวลดลงมีระยะเวลา 3.12 วัน และกลุ่มที่ 2 เปรียบเทียบข้อมูลในกลุ่มประเทศอาเซียน, ประเทศจีนและฮ่องกง พบว่ามีสถานะ high (regime 1) คือ ช่วงเวลาที่ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นและยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมีระยะเวลา 10.73 วัน และมีสถานะ low (regime 2) คือ ช่วงเวลาที่ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลงและยังคงมีแนวโน้มปรับตัวลดลงมีระยะเวลา 3.12 วัน จากผลการศึกษาการวิเคราะห์และพยากรณ์ความผันผวนของอัตราผลตอบแทนของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มประเทศอาเซียน, ประเทศจีนและฮ่องกง สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น การวิเคราะห์และพยากรณ์ความผันผวนของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มประเทศอาเซียน, ประเทศจีนและฮ่องกง โดยแบ่งตามช่วงเวลาของการบริหารงานของพรรคการเมืองของไทย และวิเคราะห์ช่วงเวลาของเกิดวัฎจักรของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ จะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อประกอบในตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในอนาคตได้เป็นอย่างดี | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.docx | Abstract (words) | 175.54 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 175.67 kB | Adobe PDF | View/Open |
FULL.pdf | Full IS | 7.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.