Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39520
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิกุล นันทชัยพันธ์-
dc.contributor.authorสุวรรณา ศรีสะอาดen_US
dc.date.accessioned2016-09-20T10:00:19Z-
dc.date.available2016-09-20T10:00:19Z-
dc.date.issued2015-05-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39520-
dc.description.abstractChronic obstructive pulmonary disease (COPD) is a major health problem that has a physical, mental and socioeconomic impact on patients and their families. COPD adversely affects the respiratory system and other organs. Pulmonary rehabilitation is recommended to improve health outcomes and reduce the use of health services. Non-adherence to pulmonary rehabilitation still occurs among persons with COPD. This operational study aimed to determine the effectiveness of implementing the Empowerment Program on Pulmonary Rehabilitation for Persons with COPD. This study was conducted at a community hospital, Uttaradit province, from April to August, 2014. There were 2 groups of subjects, before and after implementing Empowerment Program (n=73 and 55, respectively). The process of implementing the program was based on the framework proposed by the National Health and Medical Research Council (NHMRC, 1999). The outcomes were assessed according to behavior in practice of pulmonary rehabilitation and frequency of health services utilization due to dyspnea exacerbation. Data were analyzed by using descriptive statistics. The results of this study revealed the followings: 1.The percentage of participants who showed good practice in pulmonary rehabilitation and received care before implementing the program was 10.96% while the percentage of those who received care after implementing the program was 41.82%. 2.The percentage of participants who accessed health services due to dyspnea exacerbation who received care before implementing program was 78.08% while the percentage of those who received care after implementing the program was 89.09%. The findings of this study verify the effectiveness of implementing the pulmonary rehabilitation program. The researcher recommends systematically using this program in community hospitals. Further studies should be conducted to investigate the long term effects of the program and evaluate other outcomes.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์en_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Implementing Empowerment Program on Pulmonary Rehabilitation for Persons with Chronic Obstructive Pulmonary Disease, Thapla Hospital, Uttaradit Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคมต่อทั้งผู้ป่วยและครอบครัว เกิดผลเสียต่อการทำงานของระบบทางเดินหายใจและระบบ ต่าง ๆ ของร่างกาย การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเป็นวิธีการที่ได้รับการยืนยันว่าช่วยทำให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพดีขึ้น ลดการใช้บริการด้านสุขภาพ จากการปฏิบัติงานมักพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ขาดความต่อเนื่องใน การปฏิบัติตัวเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพปอด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สถานที่ศึกษาได้แก่ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2557 ผู้เข้าร่วมการศึกษาประกอบด้วยผู้มารับบริการในช่วงก่อนการใช้โปรแกรมจำนวน 73 คน และผู้มารับบริการหลังการใช้โปรแกรมจำนวน 55 คน ดำเนินการในการใช้โปรแกรมตามกรอบแนวคิดที่เสนอโดยสภาวิจัยสุขภาพและการแพทย์แห่งชาติ (NHMRC, 1999) ประเมินผลลัพธ์จากคะแนนการปฏิบัติตัวเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และจำนวนครั้งของการมาใช้บริการใน สถานบริการสุขภาพด้วยอาการหายใจเหนื่อยหอบกำเริบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาแสดงถึงประสิทธิผลของการใช้โปรแกรม ดังนี้ 1.กลุ่มตัวอย่างผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับบริการก่อนการใช้โปรแกรม มีคะแนน การปฏิบัติตัวเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 10.96 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการหลังการใช้โปรแกรมมีคะแนนการปฏิบัติตัวเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 41.82 2.กลุ่มตัวอย่างผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับบริการก่อนการใช้โปรแกรมมารับบริการด้วยอาการหายใจเหนื่อยหอบกำเริบคิดเป็นร้อยละ 78.08 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการหลังการใช้โปรแกรมมารับบริการด้วยอาการหายใจเหนื่อยหอบกำเริบคิดเป็นร้อยละ 89.09 ผลการศึกษาในครั้งนี้สนับสนุนประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ผู้ศึกษาเสนอแนะว่าควรมีการนำไปใช้อย่างเป็นระบบในโรงพยาบาลชุมชน การศึกษาครั้งต่อไปควรมีการติดตามผลในระยะยาว และมีการศึกษาผลลัพธ์ด้านอื่น ๆ ด้วยen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)53.73 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract150.74 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.58 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.