Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39438
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล งามสมสุข-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ พิกุล โค้วสุวรรณ์-
dc.contributor.authorกนกวรรณ สุขเสาร์en_US
dc.date.accessioned2016-07-22T09:27:36Z-
dc.date.available2016-07-22T09:27:36Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39438-
dc.description.abstractThis study aimed to study the financial behaviors and factors affecting theability of members of BankforAgriculture and Agricultural Cooperatives who participated in Debt Deferment Programto repay debt. The study collected needed data from 300 farm households participating in debt deferment program of BAAC. They included 188 farm households who were able to repay debt to BAAC before the end of the deferment program (evaluated at the end of financial year 2013) and 112 farm householdswho were not able to repay debt. The socio-economic and financial behavioral data was analyzed using descriptive statistics. At the same time, the study employed logistic regression or logit model to find out factors affecting framers’ ability to repay debt under debt deferment program. The study on socio-economic characteristics of farm households revealed that majority of them were men with the age between 51-60 yearsand held primary school.They had 1-4 laborers in the households. On the average, the farm households who were able to repay debt had the total income of 301,171 baht/household with the total expenditures of 199,492 baht/household/year. On the contrary, their counterpart who were not able to repay debt had the average total income of 175,785 baht/household with the total expenditures of 168,169 baht/household/year. When considering personal behavior, majority of farm households whowere unable torepay debthad involved in gamblingand liquordrinkingbehavior as well as attending social events moreoften thantheir counterpart.Moreover, the saving behaviors of the two groups were similar. They did saving bydepositing cash in the bank.They had done financial plan in advance in order to avoid overspending. Most of them were considerably thrifty. They spent only on necessary items. Considering their practices on households' expenditure record keeping and knowledge on thrifty, the farm households who were able to repay debt had higher frequency of practicing households' expenditure record keeping than its counterpart. At the same time they alsohad better knowledge on thrifty. On the average, the farm households who were able to repay debt had total debt (both from formal and informal sources and short-run and long-run debt) of 200,322 bath/household. The farm households who were not able to repay debt had higher debt level (i.e. 239,071 baht/households). Majority of debt of both groups was from formal sources. The main reason for farm households to participate in debt deferment program was to lower their burden on debt repayment during that period. The study on factors that influence the ability of farmers to repay debt during participating the debt deferment program found that there were two factor positively and significantly contributed to the farmers’ ability to repay debt. They were the higher level of knowledge on thrifty and the higher frequency of practicing households' expenditure record keeping. Yet there were other 3 factors negatively and significantly associated with the farmers’ ability to repay debt.They included increasing age of the farm household heads and participation of farm households in gambling and liquor drinking behavior. The study on problems encounter by farm households revealed that economic fluctuation, rising wage rate and traders’ monopolized behavior in agricultural market were indicated by farmers in both groups. Yet these farmers also pointed that their concentration on mono-croppingand payment of un-necessary items could also cause problem for many farm households during their participation in debt deferment program. On the other hand, the BAAC officers who taking cate of the program reflexed that farmers’ lack of intention on debt, un-review of progressive, ignorance of debt burden, lack of stable income or occupation, lack of investment and suitable financial plan as well as lack of enough collateral were major problems caused farmers to remain indebtedness. Moreover, the BAAC’s officers also mentioned that some of farm household had involved in gambling and liquor drinking behavior. Some of them could not repay debt in time. Instead of repay debt some farm household used the money supposed to repay debt for other purposes. Many farm households could not have any reserve for emergency payment. Yet some of them also had problem of being co-borrower that caused them additional debt burden. The results of this study suggested that the farmersparticipating in debt deferment program would be able to repaydebt if they paid more attention on their debt and met frequently with officers who took care of the program. Besides, they should stay away from gambling and liquor drinking behavior. Last but not least, they were advised to form their financial plan and be strictly following their financial plan.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors Influencing Debt Repayment Ability of Members Participating in Debt Deferment Program of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อทราบพฤติกรรมทางการเงิน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ ทำการศึกษาด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ในช่วงปี 2554-2557 จำนวน 300 ครัวเรือน ซึ่งจำแนกเป็นเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่สามารถชำระหนี้คืนให้กับ ธ.ก.ส. ก่อนจะสิ้นสุดโครงการพักชำระหนี้ได้(ประเมิน ณ วันสิ้ดสุดปีงบประมาณ 2556) จำนวน 188 ครัวเรือน และเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถชำระหนี้คืนให้ธ.ก.ส. และยังคงอยู่ในโครงการพักชำระหนี้จำนวน 112 ครัวเรือนทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ-สังคมและพฤติกรรมทางการเงินโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้แบบจำลองโลจิต (logit model) เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมของครัวเรือน พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง51-60 ปี ศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 และมีจำนวนแรงงานในครัวเรือน1-4 คน โดยเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่สามารถชำระหนี้ได้มีรายได้เฉลี่ย301,171บาทต่อครัวเรือนต่อปีมีค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 199,492 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ซึ่งมากกว่าเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ที่มีรายได้เฉลี่ยและค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 175,785บาทต่อครัวเรือนต่อปี และ 168,169 บาทต่อครัวเรือนต่อปีตามลำดับ เมื่อพิจารณาพฤติกรรมส่วนบุคคล พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ มีพฤติกรรมส่วนบุคคลในการเล่นการพนัน การดื่มสุรา และการเข้าร่วมงานสังคมต่างๆ มากกว่าเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ในส่วนพฤติกรรมการออมของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มพบว่าส่วนใหญ่มีการออมเงินโดยการฝากธนาคาร และมีการวางแผนการใช้เงินไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นการป้องกันรายจ่ายที่เกินความจำเป็นและส่วนใหญ่มีจะซื้อสินค้าเมื่อจำเป็นต้องใช้เท่านั้น ในการจัดทำบัญชีครัวเรือนและระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นผู้รู้จักประหยัดอดออมของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มพบว่าเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่สามารถชำระหนี้ได้มีความเข้มข้นในการจัดทำบัญชีครัวเรือน และมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นผู้รู้จักประหยัดอดออมมากกว่าเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เมื่อพิจารณาถึงภาระหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบและหนี้สินทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่สามารถชำระหนี้ได้ มีจำนวนหนี้สินรวมเฉลี่ย 200,322 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ส่วนเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ มีจำนวนหนี้สินรวมเฉลี่ย 239,071บาทต่อครัวเรือนต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้สินในระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เกษตรกรเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินของครัวเรือน และมีการใช้เงินที่กู้ยืมผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในตอนยื่นขอกู้ยืม ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ที่เข้าร่วมโครงการฯ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ คะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นผู้รู้จักการประหยัดอดออมของเกษตรกร และความเข้มข้นของการทำบัญชีครัวเรือนของครัวเรือนเกษตรกร ส่วนปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี 3 ปัจจัย ได้แก่ อายุของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรที่มากขึ้น และเป็นครัวเรือนที่มีพฤติกรรมในการเล่นการพนันและดื่มสุรา ปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรระหว่างการเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ที่เกษตรกรระบุประกอบด้วย ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ อัตราค่าจ้างแรงงาน และการขายผลผลิตที่มีพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคา นอกจากนี้ เกษตรกรยังระบุถึงอุปสรรที่เกิดจากการที่เกษตรกรเน้นปลูกพืชเชิงเดี่ยว มีการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย ส่วนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงการพักชำระหนี้ที่ของเจ้าหน้าที่ของธ.ก.ส.ที่ดูแลรับผิดชอบโครงการระบุถึง ประกอบด้วย เกษตรกรลูกค้าไม่มีความใส่ใจ ไม่ติดตามและไม่ตระหนักถึงหนี้สินของตนเองขาดความมั่นคงทางรายได้และทางอาชีพ ขาดแคลนเงินทุนและขาดวางแผนการใช้เงิน รวมถึงหลักประกันสินเชื่อไม่เพียงพอกับเงินที่ต้องการขอกู้ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังระบุว่า เกษตรกรบางส่วนมีพฤติกรรมส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุราและเล่นการพนันต่างๆ นำเงินที่ต้องชำระคืนแก่ธนาคารไปใช้อย่างอื่น ชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ขาดการสำรองเงินไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน และปัญหาการผู้กู้ร่วมซึ่งทำให้ต้องแบกรับภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น จากผลการศึกษาในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า การที่เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างจะสามารถชำระหนี้ได้นั้น จะต้องใส่ใจและเข้าพบปะเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่เสมอ เพื่อติดตามสถานะหนี้สินของตนเอง รวมถึงการลดพฤติกรรมการดื่มสุราการเล่นการพนันต่างๆ ให้น้อยลง และควรมีการวางแผนทางการเงินและปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ เกษตรกรยังควรต้องจัดทำบัญชีครัวเรือนอยู่เสมอเพื่อควบคุมรายรับรายจ่ายในครัวเรือนและฝึกความมีวินัยทางการเงินen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทคัดย่อ.docxAbstract (words)125.14 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 261.07 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS4.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.