Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39385
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล | - |
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร. หรรษา เศรษฐบุปผา | - |
dc.contributor.author | วรรณิดา ขันตีต่อ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-07-11T07:50:34Z | - |
dc.date.available | 2016-07-11T07:50:34Z | - |
dc.date.issued | 2559-02 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39385 | - |
dc.description.abstract | Alcohol dependence is a mental health problem that has tremendous impact on the patients themselves and their caregivers. The purpose of this descriptive correlational study was to examine the relationships between caregiving readiness and burdens among caregivers of alcohol dependent patients at Suan Prung Psychiatric Hospital in Chiang Mai Province. Purposive sampling was used to recruit 85 caregivers of patients with alcohol dependence at Suan Prung Psychiatric Hospital. Research instruments included: 1) Demographic Data Form; 2) The Caregiving Preparedness Questionnaire, developed by Duangduean Uten (2006) based on Stewart and Archbold’s concept (1986); and 3) The Burden Scale of Caregiver, developed by Theepprapin Sukkheo (2000) based on Pai and Kapur’s concept (1984). Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s rank correlation coefficient. Results of the study revealed that: 1. The overall score of caregiving readiness among caregivers of alcohol dependent patients was at a moderate level. Considering each dimension, results showed that caregiving readiness for the domain of providing physical care, domain of emotional support, domain of health care services and resources support, domain of stress management during caregiving process, domain of self-care and caregiving satisfaction, domain of emergency management, domain of help and required information seeking, and domain of whole caring were also at a moderate level. 2. The overall burden score of the caregivers of alcohol dependent patients was at the obligation level. Results also showed that the subscale of objective burden and the subscale of subjective burden were at the obligation level. 3. There was a significantly negative correlation between the burden scores of caregivers and the overall and subscale scores of caregiving readiness. The results of the study could be used to develop support and training programs to guide caregivers of alcohol dependent patients to provide effective care for their patients and reduce their caregiving burdens. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความพร้อมในการดูแลและภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคติดสุราโรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Caregiving Readiness and Burdens Among Caregivers of Alcohol Dependent Patients, Suan Prung Psychiatric Hospital, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | โรคติดสุราเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลอย่างมาก การศึกษาแบบพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการดูแลและภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคติดสุรา โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 85 คน ซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคติดสุราในโรงพยาบาลสวนปรุง เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความพร้อมในการดูแลของ ดวงเดือน อุเต็น (2549) ที่พัฒนามาจากแนวคิดของ สจ๊วต และ อาร์ชโบล์ด (Stewart & Archbold, 1986) และ 3) แบบวัดภาระของผู้ดูแลของ ทีปประพิน สุขเขียว (2543) ที่พัฒนามาจากแนวคิดภาระของ ไป่ และ คาเปอร์ (Pai & Kapur, 1981) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่า 1. คะแนนความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยโรคติดสุราโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านการรับบริการสุขภาพและการแสวงหาแหล่งสนับสนุน ด้านการจัดการกับความเครียดที่เกิดจากการให้การดูแลผู้ป่วย ด้านการดูแลตนเองและการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยอย่างมีความสุข ด้านการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินและการแสวงหาข้อมูลที่จำเป็นเพิ่มเติม ด้านการขอความเหลือ และด้านการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยโดยภาพรวม ซึ่งทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน 2. คะแนนภาระในการดูแลผู้ป่วยโรคติดสุราโดยรวมอยู่ในระดับมีภาระ เช่นเดียวกับผลการศึกษาเป็นรายด้าน ที่พบว่า คะแนนภาระในการดูแลด้านรูปธรรม และภาระในการดูแลด้านนามธรรมอยู่ในระดับมีภาระ 3. ภาระในการดูแลผู้ป่วยโรคติดสุรามีความสัมพันธ์เชิงลบกับความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยโรคติดสุราทั้งโดยรวมและรายด้าน ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการให้ความช่วยเหลือและอบรมให้ผู้ดูแลสามารถให้การดูแลผู้ป่วยติดสุราได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลผู้ป่วย | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.docx | Abstract (words) | 49.9 kB | Microsoft Word XML | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 153.7 kB | Adobe PDF | View/Open |
FULL.pdf | Full IS | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.