Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37842
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ | - |
dc.contributor.author | เรืองอุไร สินเปียง | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-02-19T10:11:36Z | - |
dc.date.available | 2015-02-19T10:11:36Z | - |
dc.date.issued | 2014-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37842 | - |
dc.description.abstract | ในกระบวนการผลิตเซรามิกพนักงานต้องเผชิญปัจจัยอันตรายจากการทำงาน ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และการบาดเจ็บจากการทำงาน การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพนักงานโรงงานเซรามิก อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางจำนวน 260 คน รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึง เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ.96 และทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าในระดับที่ยอมรับได้ (.84) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการสัมผัสปัจจัยอันตรายจากการทำงานที่สำคัญ คือ อาการปวดโครงร่างกล้ามเนื้อ ได้แก่อาการปวดแขน ข้อศอก มือ ข้อมือ (ร้อยละ69.92) และปวดต้นคอ ไหล่ หลังส่วนบน (ร้อยละ 68.46)อาการเหนื่อย อ่อนเพลีย เสียเหงื่อจากอากาศที่ร้อน (ร้อยละ 65.38) อาการน้ำมูกไหล ไอ จาม แสบจมูก (ร้อยละ 41.15) และความเครียดจากงานที่เร่งรีบ (ร้อยละ 41.15) สำหรับการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบเพียง ร้อยละ 18.85 ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย (ร้อยละ 97.96) สาเหตุหลักของการบาดเจ็บ เกิดจากถูกเครื่องมือ อุปกรณ์ ตัด บาด (ร้อยละ66.07) อวัยวะหรือส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บ คือ บริเวณมือ นิ้วมือ ข้อมือ (ร้อยละ53.52) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัยรวมทั้งทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรจัดบริการอาชีวอนามัย สำหรับอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก ให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการประเมินภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และการบาดเจ็บจากการทำงาน เสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานเซรามิก | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพนักงานโรงงานเซรามิก อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง | en_US |
dc.title.alternative | Health status related to risk at work among ceramic workers, Ko Kha District, Lampang Province | en_US |
thailis.classification.ddc | 613 | - |
thailis.controlvocab.thash | สุขภาพ--ลำปาง. อำเภอเกาะคา | - |
thailis.controlvocab.thash | ความเสี่ยง--ลำปาง. อำเภอเกาะคา | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงงานเซรามิก (ลำปาง) | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 613 ร6112ภ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ในกระบวนการผลิตเซรามิกพนักงานต้องเผชิญปัจจัยอันตรายจากการทำงาน ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และการบาดเจ็บจากการทำงาน การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพนักงานโรงงานเซรามิก อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางจำนวน 260 คน รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึง เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ.96 และทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าในระดับที่ยอมรับได้ (.84) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการสัมผัสปัจจัยอันตรายจากการทำงานที่สำคัญ คือ อาการปวดโครงร่างกล้ามเนื้อ ได้แก่อาการปวดแขน ข้อศอก มือ ข้อมือ (ร้อยละ69.92) และปวดต้นคอ ไหล่ หลังส่วนบน (ร้อยละ 68.46)อาการเหนื่อย อ่อนเพลีย เสียเหงื่อจากอากาศที่ร้อน (ร้อยละ 65.38) อาการน้ำมูกไหล ไอ จาม แสบจมูก (ร้อยละ 41.15) และความเครียดจากงานที่เร่งรีบ (ร้อยละ 41.15) สำหรับการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบเพียง ร้อยละ 18.85 ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย (ร้อยละ 97.96) สาเหตุหลักของการบาดเจ็บ เกิดจากถูกเครื่องมือ อุปกรณ์ ตัด บาด (ร้อยละ66.07) อวัยวะหรือส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บ คือ บริเวณมือ นิ้วมือ ข้อมือ (ร้อยละ53.52) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัยรวมทั้งทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรจัดบริการอาชีวอนามัย สำหรับอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก ให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการประเมินภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และการบาดเจ็บจากการทำงาน เสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานเซรามิก | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 208.58 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 678.03 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 347.52 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 751.85 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 381.99 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 451.89 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 256.73 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 202.59 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 560.91 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 340.87 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.