Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37682
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรัตนา พงษ์ศิริen_US
dc.date.accessioned2015-02-03T08:52:14Z-
dc.date.available2015-02-03T08:52:14Z-
dc.date.issued2014-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37682-
dc.description.abstractการเกิดแผลที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนประการหนึ่งที่พบบ่อยในพระภิกษุที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดขาได้ การศึกษาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในพระภิกษุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กรอบแนวคิดการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ (National Health and Medical Research Council [NHMRC], 1999) ประเทศออสเตรเลีย กลุ่มตัวอย่างคือ พระภิกษุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการบริการที่ ห้องตรวจผู้ป่วยสงฆ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือน มิถุนายน 2557 โดยแบ่ง 2 กลุ่ม คือกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติ จำนวน 23 รูป และกลุ่มที่มีการใช้แนวปฏิบัติจำนวน 21 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในพระภิกษุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ 2) คู่มือการดูแลสุขภาพเท้าสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์ ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้เรื่องการดูแลเท้า และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. ร้อยละ 42.9 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้าอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับในกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติซึ่งมีเพียงร้อยละ 13.04 2. ร้อยละ 23.8 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีพฤติกรรมการดูแลเท้าอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบกับในกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติซึ่งไม่มีเลย ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในพระภิกษุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ห้องตรวจผู้ป่วยสงฆ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ดังนั้นบุคลากรจึงควรใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพในการดูแลประชากรกลุ่มดังกล่าวen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับ การป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในพระภิกษุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ห้องตรวจผู้ป่วยสงฆ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEffectiveness of clinical nursing practice guidelines implementation for foot ulcer prevention in monks with type 2 diabetes, Monk Outpatient Department, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospitalen_US
thailis.classification.ddc616.462-
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashสงฆ์-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashเท้า -- บาดแผลและบาดเจ็บ-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 616.462 ร114ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการเกิดแผลที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนประการหนึ่งที่พบบ่อยในพระภิกษุที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดขาได้ การศึกษาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในพระภิกษุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กรอบแนวคิดการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ (National Health and Medical Research Council [NHMRC], 1999) ประเทศออสเตรเลีย กลุ่มตัวอย่างคือ พระภิกษุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการบริการที่ ห้องตรวจผู้ป่วยสงฆ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือน มิถุนายน 2557 โดยแบ่ง 2 กลุ่ม คือกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติ จำนวน 23 รูป และกลุ่มที่มีการใช้แนวปฏิบัติจำนวน 21 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในพระภิกษุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ 2) คู่มือการดูแลสุขภาพเท้าสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์ ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้เรื่องการดูแลเท้า และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. ร้อยละ 42.9 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้าอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับในกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติซึ่งมีเพียงร้อยละ 13.04 2. ร้อยละ 23.8 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีพฤติกรรมการดูแลเท้าอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบกับในกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติซึ่งไม่มีเลย ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในพระภิกษุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ห้องตรวจผู้ป่วยสงฆ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ดังนั้นบุคลากรจึงควรใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพในการดูแลประชากรกลุ่มดังกล่าวen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT160.56 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX1.04 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1227.36 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2472.89 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3238.61 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4327.37 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5153.65 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT147.65 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER532.16 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE261.78 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.